เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 1596

2025-05-05 12:00

(กูรูเช็ค) เช็กลิสต์สำคัญ ก่อนเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริมบำรุงสมอง 2025

เช็กลิสต์สำคัญก่อนเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริมบำรุงสมอง 2025

ตลาดอาหารเสริมบำรุงสมองกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างแบรนด์ให้มั่นคง ต้องเริ่มจากการเลือกโรงงานผลิตที่ "ใช่" กูรูเช็ค ได้รวบรวมเช็กลิสต์สำคัญที่คุณไม่ควรพลาด เพื่อให้การตัดสินใจของคุณแม่นยำและสร้างโอกาสความสำเร็จในระยะยาว มาดูกันว่าคุณควรเช็กอะไรบ้างก่อนเลือกโรงงาน !

มาตรฐานที่โรงงานผลิตอาหารเสริมควรมี

มาตรฐาน GMP

- การรับรองความปลอดภัยที่ทุกโรงงานผลิตอาหารเสริมต้องมี เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐาน ที่ครอบคลุมทุกส่วนของโรงงาน ทั้งในส่วนของอาคารสถานที่ กระบวนการผลิต และบุคลากร หากโรงงานไม่มีการรับรองดังกล่าว แสดงว่าไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการผลิตที่ไม่มีระบบควบคุมคุณภาพ การปนเปื้อน หรือการใช้วัตถุดิบที่ไม่ผ่านเกณฑ์ อย. โดยมาตรฐาน GMP จะมีเกณฑ์ชัดเจนในการทดสอบและประเมินผลในทุกด้านของโรงงาน เพื่อให้การผลิตอยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกัน

GMP(Good Manufacturing Practice) มาตรฐานพื้นฐานสำหรับโรงงาน ครอบคลุมสถานที่ เครื่องมือ บุคลากร และความสะอาด **จำเป็นต้องใช้ในการยื่น อย.**

มาตรฐาน HACCP

- การให้ความสำคัญกับอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการผลิตอาหารเสริม อย่างเช่น การปนเปื้อนในอาหาร อีกทั้งในเรื่องของอาคารสถานที่และส่วนผสม เรียกได้ว่าตรวจสอบทุกอย่างอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีส่วนผสมที่อันตรายลงไปในอาหารเสริม เป็นมาตรฐานที่มีหลักเกณฑ์การตรวจสอบที่ค่อนข้างเข้มงวด เคร่งครัด มีระเบียบ และเป็นมาตรฐานชัดเจน โดยทีมผู้ตรวจสอบจะเป็นทีมงานที่เชี่ยวชาญในการตรวจสอบโรงงานผลิตอาหารเสริมต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด

HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Points) ระบบควบคุมความเสี่ยงในกระบวนการผลิต เช่น ป้องกันเชื้อโรคหรือสารปนเปื้อน **อย. และหลายประเทศกำหนดให้มีควบคู่กับ GMP**

มาตรฐาน ISO 22000

- เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมทั้ง GMP และ HACCP โดยจะมีความเข้มงวดในการตรวจมากกว่า มาตรฐานนี้เป็นการตรวจสอบในเรื่องของความปลอดภัย เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าผลิตผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ISO 22000 มาตรฐานระดับสากลสำหรับระบบบริหารจัดการความปลอดภัยอาหาร ซึ่งมีการควบคุมความปลอดภัยของอาหารในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อาหาร ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงผู้บริโภค ช่วยยกระดับโรงงาน **แต่นำไปยื่นแทน GMP/HACCP ไม่ได้**

มาตรฐานขององค์การอาหารและยา (อย.)

- มาตรฐานที่โรงงานผลิตอาหารเสริมทุกแห่งควรมีอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นมาตรฐานพื้นฐานที่ต้องได้รับ เพราะเป็นการรับรองถึงคุณภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหารเสริม โดยก่อนการผลิตอาหารเสริม ทางโรงงานจะต้องยื่นสูตรในการผลิตอาหารเสริมให้กับทาง อย. เพื่อทำการรับรอง และตรวจสอบคุณภาพ

**ทำไมโรงงานต้องมีมาตรฐานครบทั้ง GMP, HACCP และ ISO 22000**

กำหนดของหน่วยงานรัฐ (เช่น อย. ไทย)

- การยื่นเอกสารเพื่อขอเลขสารบบ อย. จำเป็นต้องใช้ใบ GMP และ HACCP ที่ออกโดยหน่วยงานที่ อย. ยอมรับ

- ISO 22000 ไม่สามารถใช้แทน ได้ทั้งหมด

ข้อกำหนดของคู่ค้าหรือประเทศปลายทาง(กรณีส่งออก)

- บางประเทศหรือห้างร้านต้องการเห็นใบ HACCP หรือ GMP แยกเฉพาะทาง

- แม้มี ISO ก็ยัง ต้องแนบใบอื่นเพิ่มเติม

การมี ใบ GMP, HACCP และ ISO 22000 ครบทุกใบ ช่วยรับรองว่าโรงงานมีมาตรฐานทั้ง ด้านความปลอดภัย, คุณภาพ และ ระบบการจัดการอาหาร

มีครบ = เชื่อถือได้ พร้อมใช้เอกสารยื่น อย. และส่งออกได้ง่าย

ขั้นตอนการขอรับรองมาตรฐานโรงงานอาหารเสริม(GMP / HACCP / ISO 22000)

1.เตรียมความพร้อมภายในโรงงาน

•  จัดการโครงสร้างอาคาร สถานที่ และระบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของมาตรฐานที่ต้องการ(เช่น ระบบระบายอากาศ, พื้นผิวที่ทำความสะอาดง่าย, แสงสว่าง ฯลฯ)

•  วางระบบการผลิตให้มีการควบคุมคุณภาพ(QC) และเอกสารการตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability)คือแนวทางสำคัญที่ใช้ในการควบคุมความปลอดภัยและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ตลอดกระบวนการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ยา และอาหารเสริม

2. ฝึกอบรมบุคลากร

•  เจ้าหน้าที่และพนักงานต้องผ่านการอบรมด้านสุขลักษณะและความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน เช่น การล้างมือ, การจัดการวัตถุดิบ, การควบคุมความเสี่ยง ฯลฯ

3. จัดทำเอกสารระบบคุณภาพ

•  จัดเตรียม SOPs(Standard Operating Procedures), Work Instruction, บันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัย

•  สำหรับ HACCP ต้องมีการวิเคราะห์ความเสี่ยง(Hazard Analysis) และวางแผนควบคุมจุดวิกฤติ(CCP)

4. ว่าจ้างที่ปรึกษาหรือทีมพัฒนาเอกสาร(ถ้าจำเป็น)

• โรงงานบางแห่งใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบคุณภาพมาช่วยวางระบบ เพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว

5. ยื่นขอรับรองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

•  GMP / HACCP → ยื่นกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) หรือหน่วยงานที่ อย. รับรอง เช่น สถาบันอาหาร

•  ISO 22000 → ติดต่อหน่วยรับรอง ISO ที่ได้รับการรับรองสากล(เช่น SGS, BSI, URS ฯลฯ)

6. ตรวจประเมิน(Audit)

•  เจ้าหน้าที่จากหน่วยรับรองจะเข้าสำรวจ ตรวจสอบ และสอบถามตามเกณฑ์มาตรฐาน

•  หากพบข้อบกพร่อง(Non-conformities) ต้องมีการแก้ไขให้เรียบร้อยภายในเวลาที่กำหนด

7. ออกใบรับรอง(Certificate)

• เมื่อผ่านการตรวจประเมินและไม่มีข้อบกพร่องแล้ว โรงงานจะได้รับใบรับรองมาตรฐานที่ยื่นขอ ซึ่งมีอายุ 1–3 ปี แล้วแต่ประเภท

• 8 ปัจจัยสำคัญ เช็กลิสต์ก่อนเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริมบำรุงสมองให้แบรนด์คุณเติบโตอย่างยั่งยืน

หากคุณกำลังจะเริ่มต้นสร้างแบรนด์อาหารเสริมบำรุงสมอง การเลือกโรงงานเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด เช็กลิสต์นี้จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างมั่นใจ ครบทุกมิติ ตั้งแต่กฎหมายไปจนถึงการตลาด

1. การจดทะเบียนและใบอนุญาต

•  เลือกโรงงานที่มีการจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและได้รับใบอนุญาตการผลิตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เพื่อรับประกันว่าโรงงานมีมาตรฐานการดำเนินงานที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

2. มาตรฐานการผลิตและการควบคุมคุณภาพ

• โรงงานควรผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากล เช่น GMP, HACCP, ISO 22000 เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการผลิตมีความปลอดภัย สะอาด และมีการควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน

3. ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ

•  เลือกโรงงานที่มีประสบการณ์ในการผลิตอาหารเสริมบำรุงสมองโดยเฉพาะมีทีมวิจัยและพัฒนา(R&D) ที่สามารถช่วยคิดค้นและปรับสูตรให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย

•  ดูผลงานที่ผ่านมา เช่น แบรนด์ที่เคยผลิตให้ หรือรางวัลที่ได้รับ เพื่อประเมินความน่าเชื่อถือ

4. คุณภาพและแหล่งที่มาของวัตถุดิบ

• โรงงานควรคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดี มีแหล่งที่มาชัดเจน และมีเอกสารรับรอง เช่น CertificateofAnalysis(COA) เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสินค้าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

5. ความสามารถในการผลิตและเทคโนโลยี

•  ควรเลือกโรงงานที่มีศักยภาพในการผลิตจำนวนมากพร้อมทั้งมีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เพื่อรองรับความต้องการที่หลากหลายของตลาด และลดความเสี่ยงด้านคุณภาพ

6. บริการตั้งแต่การพัฒนาสูตรจนถึงการวางจำหน่าย

โรงงานที่มีบริการOEM/ODM ตั้งแต่การพัฒนาสูตร ขอเลข อย. ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการผลิตและจัดส่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างแบรนด์ได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

7. ความน่าเชื่อถือ

•  พิจารณาความน่าเชื่อถือของโรงงานจากการเปิดเผยข้อมูลต่างๆอย่างโปร่งใส เช่น ใบรับรองมาตรฐาน ผลงานการผลิตที่ผ่านมาหรือรีวิวจากลูกค้าเดิม เพื่อประเมินความสามารถในการผลิตจริง

8. การบริการหลังการขายและการให้คำปรึกษา

• โรงงานที่ดีควรมีบริการหลังการขาย เช่น ให้คำปรึกษาด้านการตลาด การวางแผนต้นทุนและคำนวณกำไร และการสร้างแบรนด์ เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของผู้ประกอบการสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

สรุป

การเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริมบำรุงสมองไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการผลิตเท่านั้น แต่เป็นการตัดสินใจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของแบรนด์ในระยะยาว ผู้ประกอบการควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ตั้งแต่การตรวจสอบการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มาตรฐานการผลิตระดับสากล เช่น GMP, ISO หรือ HACCP รวมถึงคุณภาพของวัตถุดิบ ขั้นตอนการขอใบรับรอง และการบริการหลังการขายที่มีความครบถ้วนและมืออาชีพ เพื่อให้มั่นใจว่าแบรนด์ที่สร้างขึ้นมีความแข็งแกร่ง น่าเชื่อถือ และพร้อมแข่งขันในตลาดที่มีการแข่งขันสูง

มาตรฐานที่ยกตัวอย่างมานี้ ถือเป็นเพียงพื้นฐานที่โรงงานควรมี หากโรงงานต้องการยกระดับภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ยังมีมาตรฐานระดับสูงอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นจุดแข็งในการสร้างความแตกต่างในตลาดได้ การศึกษามาตรฐานเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องจึงเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจอาหารเสริมในระยะยาว

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังหามองหาโรงงานผลิตอาหารเสริมบำรุงสมอง คลิ๊ก 

ทางทีมกูรูเช็คก็หวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่ต้องการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าของตัวเอง และใครที่สนใจ Consult สร้างแบรนด์ ก็สามารถ แอด LINE : @gurucheckacademy หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://line.me/R/ti/p/@gurucheckacademy

 


เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

1596

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “