เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 1684

2025-04-29 14:00

(กูรูเช็ค) อัปเดต! วางแผนต้นทุนและคำนวณกำไร ธุรกิจอาหารเสริมบำรุงสมอง

อัปเดต! วางแผนต้นทุนและคำนวณกำไร ธุรกิจอาหารเสริมบำรุงสมอง

ในยุคที่ผู้คนให้ความสำคัญกับสุขภาพสมองและการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อาหารเสริมบำรุงสมองจึงกลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นสารสกัด Omega-3, L-Theanine, Ginkgo Biloba ที่นิยม สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจในธุรกิจนี้ การวางแผนต้นทุนและการคำนวณกำไร ในการผลิตอาหารเสริมบำรุงสมองอย่างแม่นยำถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

1. ต้นทุนมีหลายส่วน(ผู้ประกอบการควรจดบันทึกต้นทุนทุกส่วนให้ครบถ้วน)

ต้นทุนคงที่

- ค่าออกแบบบรรจุภัณฑ์

- ค่าจ้างพนักงาน

- ค่าใช้จ่ายทางกฎหมายและการขึ้นทะเบียน (ค่าใช้จ่ายในการจดแจ้ง อย. ค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์, ค่าจดทะเบียนบริษัท เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งแรกหรือเป็นครั้งคราวตามที่กฎหมายกำหนด)

- ค่าใช้จ่ายทางการตลาดและเว็บไซต์ (ค่าพัฒนาเว็บไซต์, ค่าดูแลและบำรุงรักษาเว็บไซต์ เช่น การอัปเดตระบบดูแลความปลอดภัย, ค่าจ้างนักพัฒนา/บริษัทเอเจนซี่)

ต้นทุนผันแปร

- ค่าวัตถุดิบ

- ค่าโรงงานผลิต

- ค่าขนส่ง

- ค่าโฆษณา

- ค่าใช้จ่ายแฝง ( กึ่งคงที่ / กึ่งผันแปร ) คือค่าใช้จ่ายที่ไม่ปรากฏในบัญชีรายจ่ายปกติ แต่มีผลกระทบต่อกำไร เช่น ค่าการตลาด ค่าตัวแทนจำหน่าย และค่าจัดโปรโมชั่น เช่น ลดราคา 10% หรือแถมสินค้า 1 แถม 1 ซึ่งมีลักษณะทั้งกึ่งคงที่และกึ่งผันแปร ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ใช้

2. ควรรู้ต้นทุนต่อหน่วย(หารต้นทุนทั้งหมดด้วยจำนวนสินค้าที่ผลิต จะได้ต้นทุนต่อชิ้น/กล่อง เพื่อใช้ตั้งราคาขาย)

สมมุติว่าคุณผลิตอาหารเสริมบำรุงสมองล็อตหนึ่ง จำนวน 1,000 กล่อง มีรายละเอียดต้นทุน ดังนี้

•  ต้นทุนคงที่ (เช่น ค่าจ้างพนักงานประจำ, ค่าเช่าสถานที่) 40,000 บาท

•  ต้นทุนผันแปร (เช่น ค่าวัตถุดิบ 50 บาท/กล่อง, ค่าขนส่ง 20 บาท/กล่อง) (50 + 20) x 1,000 = 70,000 บาท

รวมต้นทุนทั้งหมด = ต้นทุนคงที่ + ต้นทุนผันแปร = 40,000 + 70,000 = 110,000 บาท

คำนวณต้นทุนต่อหน่วย

นำต้นทุนทั้งหมด 110,000 บาท หารด้วยจำนวนสินค้าที่ผลิต 1,000 กล่อง

ต้นทุนต่อหน่วย = 110,000/1,000 = 110 บาท/กล่อง เป็นราคาต้นทุน

3. ตั้งราคาขายให้เหมาะสม(ราคาขายควรครอบคลุมต้นทุนทั้งหมด และมีกำไรเพียงพอ รวมถึงต้องดูราคาตลาดและคู่แข่งด้วย)

- ราคาตลาดและคู่แข่ง

- คุณภาพ (เช่น การนำเข้าวัตถุดิบ, สารสกัด, มีงานวิจัยรองรับ)

- จุดเด่น (มีรีวิวจากผู้ใช้จริง, บรรจุภัณฑ์ดูดี ทันสมัย)

- การคิดค่าใช้จ่ายแฝงคิดต้นทุนเป็น 25% ของราคาขาย

- ราคาขายอาหารเสริมควรตั้งให้ต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 25% ของราคาขาย เพื่อให้เหลือกำไรและงบประมาณสำหรับการตลาดและโปรโมชั่น การวางต้นทุนที่ 25% ทำให้สามารถปรับราคาขายได้ตามตลาด โดยยังคงความสามารถในการทำกำไร

***การคิดต้นทุนเป็น 25% ของราคาขาย คือ กลยุทธ์ทางธุรกิจยอดนิยม ที่เจ้าของแบรนด์และนักธุรกิจใช้เพื่อทำให้ธุรกิจของตัวเองยั่งยืน

4. วางแผนกำไรที่ต้องการ(ลองตั้งเป้ากำไรต่อชิ้นหรือเปอร์เซ็นต์กำไรที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ)

- ผู้ประกอบการควรตั้งเป้ากำไรต่อชิ้นหรือเปอร์เซ็นต์กำไรที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น ต้องการกำไร 25% จากต้นทุนต่อหน่วย เพื่อให้ธุรกิจมีเงินหมุนเวียนและสามารถขยายกิจการได้ การวางแผนกำไรควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ในตลาดด้วย

**เมื่อคุณกำหนดต้นทุนเป็น 25% ของราคาขาย หมายความว่า ราคาขายจะถูกจัดสรรเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ต้นทุนสินค้า 25% กำไรที่ตั้งเป้าไว้อีก 25% และงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายแฝง 50%

ตัวอย่างการคำนวณราคาขาย กำไร ต้นทุน

ถ้าต้นทุนการผลิตอาหารเสริมบำรุงสมองทั้งหมด 110,000 บาท และต้องการคิดต้นทุนเป็น 25% ของราคาขาย สามารถคำนวณได้ ดังนี้

•  เอา 110,000 ÷ 0.25 =บ 440,000 าท

นี่คือ ยอดขายรวม ที่คุณควรตั้งไว้

•  ราคาขายรวม : 440,000 บาท

•  ราคาขายต่อกล่อง

440,000 ÷ 1,000 = 440 บาท/กล่อง

•  กำไรขั้นต้นรวม (คือรายได้จากการขายทั้งหมด - ต้นทุนขาย)

440,000 - 110,000 = 330,000 บาท

•  กำไรขั้นต้นต่อกล่อง (ราคาขายต่อกล่อง - ต้นทุนขายต่อกล่อง)

440 - 110 = 330 บาท/กล่อง

สรุป การคำนวณตัวอย่างราคาขาย กำไร ต้นทุน

ถ้าผู้ประกอบการทุกคนมีต้นทุนการผลิต 110,000 บาท และตั้งราคาขายโดยให้ต้นทุนเป็น 25% ของราคาขาย

•  ราคาขายรวมควรตั้งที่ 440,000 บาท

•  จะเหลือส่วนต่างเป็นกำไรและงบประมาณสำหรับการตลาด โปรโมชั่น และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีก 330,000 บาท

ถ้าคิดเป็น % สัดส่วน คือ เราใช้เงินลงทุน 25% กำไรควรคิดเป็น 25% จากราคาขาย และจะเหลืออีกส่วน คือ 50% เป็นส่วนที่จะเอามาใช้กับค่าใช้จ่ายแฝงที่เคยได้อธิบายไปในข้อที่ 1 เรื่องของต้นทุนผันแปร เป็นส่วนที่ใช้ขยายตลาดหรือรับมือกับการแข่งขันในอนาคต

“ส่วนค่าใช้จ่ายแฝง” ที่คุณต้องจัดสรรให้คุ้มค่า เช่น

•  ใช้ทำ การตลาด เช่น ยิงโฆษณา Facebook, Instagram, Google

•  จ่าย คอมมิชชั่นให้ตัวแทนขาย

•  จัดโปรโมชั่น เช่น ลดราคา 10%, แถมสินค้า1แถม1

•  ค่าบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติม, ค่าโลจิสติกส์

•  50% ที่นำมาใช้กับค่าใช้จ่ายแฝง ในกรณีที่ค่าใช้จ่ายมีไม่ถึง 50% ส่วนที่เหลือจะถือเป็นกำไรที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจ หรือจะเป็นการเพิ่มงบประมาณในการทำการตลาด(ค่าใช้จ่ายแฝง) ในเดือนถัดๆไปได้

5. รู้จุดคุ้มทุน(คำนวณว่าต้องขายอย่างน้อยกี่ชิ้นถึงจะคืนทุน เพื่อวางแผนการตลาด การผลิต และระยะเวลาในการคืนทุน)

สูตร

จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ ÷ (ราคาขาย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

(**ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย = คือต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิตหรือการขายสินค้า**)

การรู้จุดคุ้มทุนช่วยให้วางแผนการผลิตและการตลาดได้แม่นยำ และประเมินความเสี่ยงของธุรกิจได้ดีขึ้น

6. ควบคุมต้นทุนอยู่เสมอ(เปรียบเทียบราคาวัตถุดิบ เลือกโรงงานที่คุ้มค่า และตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

•  การควบคุมต้นทุนอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดความสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และรักษากำไรของธุรกิจ

•  ผู้ประกอบการควรติดตามต้นทุนของสารสกัดกับทางโรงงานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากราคาวัตถุดิบอาจมีการปรับขึ้นตามสถานการณ์ตลาด หากพบว่าต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลง อาจจำเป็นต้องพิจารณาทางเลือก เช่น

•  ปรับเปลี่ยนเกรดวัตถุดิบให้เหมาะสมกับงบประมาณ

•  หรือคงคุณภาพเดิมไว้ แล้วปรับราคาขายสินค้าให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ยังคงรักษาระดับกำไรไว้ได้เท่าเดิม

7. เตรียมงบสำหรับการตลาด(งบสำหรับโฆษณา โปรโมชั่น หรือกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพราะเป็นต้นทุนที่สำคัญต่อความสำเร็จ)

7.1 เริ่มจากตั้งเป้าหมาย

•  ถามตัวเองก่อนว่า อยากให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพิ่มยอดขาย หรือขยายฐานลูกค้า?

•  เป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้คุณวางแผนใช้งบได้ถูกจุด

7.2 รู้จักกลุ่มลูกค้า

•  ศึกษาว่าลูกค้าของคุณคือใคร อายุเท่าไหร่ อยู่ที่ไหน ใช้โซเชียลมีเดียอะไร

•  ตัวอย่าง: ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นวัยทำงาน อาจเน้นโฆษณาบน Facebook หรือ LinkedIn

7.3 งบประมาณการตลาด

•  งบโฆษณาออนไลน์ (Facebook, Google, TikTok) เช่น เดือนละ 20,000 บาท

•  งบโปรโมชั่น เช่น แจกของแถมช่วงเปิดตัวสินค้า 10,000 บาท

•  งบอินฟลูเอนเซอร์หรือรีวิวสินค้า 15,000 บาท

•  งบจัดกิจกรรม เช่น อีเวนต์สุขภาพ 5,000 บาท

7.4 BASIC การวางแผนการตลาด (ยกตัวอย่างการเปิดแบรนด์สินค้า)

เป้าหมาย เดือนที่ 1 เปิดตัวสินค้าใหม่

ก่อนเปิดตัวสินค้าใหม่ แจกสินค้าทดลองให้รีวิว (PR Box) ให้กับอินฟลูเอนเซอร์ทดลองใช้ก่อนเพื่อที่จะได้รีวิวจากผู้ใช้จริงก่อนเปิดตัว ระยะเวลา 3 เดือน

•  ลงโฆษณาออนไลน์ผ่าน Facebook Ads / Google Ads /

•  ยิงโฆษณารีวิวสินค้าผ่านอินฟลูเอนเซอร์

•  ยิง Ads โปรโมชั่นเปิดตัวสินค้า เช่น “ซื้อ 1 แถม 1” หรือ “ส่วนลดพิเศษ 15%”

•  ทำคอนเทนต์ให้ความรู้เกี่ยวกับสารสกัดหรือจุดเด่นสินค้าสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ของเรา

เป้าหมาย เดือนที่ 2 กระตุ้นยอดขาย

•  การจัดโปรโมชั่น Box-set ลดราคาเป็นวิธีที่ดีในการกระตุ้นให้ลูกค้าเก่ากลับมาซื้ออีกครั้ง รวมถึงกลุ่มคนที่ต้องการตุนสินค้าไว้ใช้ในระยะยาว ให้สามารถซื้อได้ในราคาที่คุ้มค่าและต่อเนื่อง

•  เปิดช่องทางการขายเพิ่มเติม เช่น Shopee, TikTok, Lazada, LINE Official, Website

•  ใช้รีวิวจากลูกค้าเดิมมาโปรโมตซ้ำ

• การโปรโมทผ่านอินฟลูเอนเซอร์ หรือการทำรีวิวจากผู้ใช้สินค้าจริงควรพิจารณารายละเอียดของสินค้าแต่ละประเภท เนื่องจากระยะเวลาในการรีวิวและผลตอบรับจากผู้บริโภคอาจแตกต่างกันไปตามลักษณะของสินค้า • ทำการตลาดผ่าน Social media ควรวิเคราะห์กลุ่มลูกค้าของตัวเอง เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งาน เเละการซื้อสินค้าออนไลน์ เพื่อทำการโปรโมทผ่านช่องทางที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้า และเป็นการลงทุนกับการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพกับแบรนด์มากที่สุด

เป้าหมาย เดือนที่ 3 ทำยังไงให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำเพื่อกระตุ้นยอดขาย

•  ส่ง LINE Official โปรโมทโฆษณาอยู่บ่อยๆ เช่นสินค้าเราออกอะไร, อัปเดตสารสกัด

•  แจกคูปองส่วนลดเฉพาะลูกค้าเก่าเพื่อความคุณที่อุดหนุนสินค้าเรา เช่น คูปองลด 15% ใช้ได้แค่ 3 วันเท่านั้น หรือ ซื้อ1แถม1 เฉพาะลูกค้าเก่าที่มีคูปอง

•  เปิดระบบสะสมแต้ม หรือสมาชิก VIP

• แผนการตลาด เป็นการวางเป้าหมายในเเต่ละเดือนให้ชัดเจน เช่น เดือนที่ 1 เปิดตัวสินค้าใหม่-เน้นเปิดตัวสินค้ากับกลุ่มเป้าหมาย โดยการสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ เเละเน้นออกโปรให้ลูกค้าสนใจที่อยากจะลองซื้อ, เดือนที่ 2 เน้นกระตุ้นยอดขาย เเละขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้น เเละเดือนที่ 3 เน้นวางโปร หรือวางเเผนให้ลูกค้าเกิดการซื้อสินค้าของเเบรนด์ซ้ำ

7.5 ประเมินผลและปรับกลยุทธ์

•  ดูว่างบที่ใช้ไปทำให้ยอดขายหรือยอดคนรู้จักแบรนด์เพิ่มขึ้นหรือไม่

•  ถ้าใช้งบโฆษณาแล้วไม่คุ้ม อาจลดงบส่วนนั้นแล้วเพิ่มงบไปที่โปรโมชันแทน

7.6 เตรียมงบสำรอง

•  หากคุณมีงบประมาณการตลาด 200,000 บาท ควรกันเงินสำรองไว้อีก 20,000–40,000 บาท (10-20%) เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น เมื่อต้องเร่งโปรโมตสินค้าใหม่แข่งกับคู่แข่ง หรือเทรนด์ผู้บริโภคเปลี่ยนกะทันหัน คุณจะมีเงินสำรองพร้อมใช้ทันที ไม่ต้องหยุดแผนหลักหรือรีบกู้เงินเพิ่ม

•  เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น แผ่นดินไหวหรือไฟไหม้โรงงาน ซึ่งอาจทำให้โรงงานผลิตสินค้าเสียหายจนต้องหยุดการผลิตหรือเปลี่ยนโรงงานใหม่เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้ทันกำหนดส่ง ผู้ประกอบการ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อได้อย่างรวดเร็วและลดผลกระทบต่อรายได้และความพึงพอใจของลูกค้า

สรุป

กูรูเช็ค ได้รวบรวมแนวทางการวางแผนต้นทุนและการคำนวณกำไรสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอาหารเสริมบำรุงสมอง โดยเน้นการจดบันทึกต้นทุนอย่างละเอียดเพื่อจะได้เอามาคำนวณต้นทุนต่อหน่วย ตั้งราคาขายให้เหมาะสม วางเป้าหมายกำไรที่ชัดเจน และรู้จุดคุ้มทุนเพื่อให้ไม่ให้คาดทุนและได้กำไรต่อธุรกิจ และเตรียมงบการตลาดอย่างรอบคอบ งบสำหรับโฆษณา, โปรโมชั่น, หรือกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพราะเป็นต้นทุนที่สำคัญต่อความสำเร็จ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงและสร้างกำไรได้ในระยะยาว

สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังหามองหาโรงงานผลิตอาหารเสริมบำรุงสมอง คลิ๊ก

ทางทีมกูรูเช็คก็หวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่ต้องการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าของตัวเอง และใครที่สนใจ Consult สร้างแบรนด์ ก็สามารถ แอด LINE : @gurucheckacademy หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://line.me/R/ti/p/@gurucheckacademy


เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

1684

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “