เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 2710

2024-05-13 17:00

(กูรูเช็ค)ทริคเลือกอาหารเสริมโพรไบโอติก ในท้องตลาด ปลอดภัย แบบไหนดี

กูรูเช็ค

• อาหารเสริมโพรไบโอติกในท้องตลาด

เราอยู่ในยุคที่คนหันมาใส่ใจสุขภาพ หันมาดูแลตัวเองมากขึ้น ตลาดไพรไบโอติก ถือว่ามาแรงและได้รับความสนใจและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะโพรไบโอติกถือเป็นนวัตกรรมอาหาร เป็นจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย เสริมประสิทธิภาพการย่อยอาหาร และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงระบบต่างๆในร่างกาย อ่านข้อมูลเพิ่มเติม โพรไบโอติก พรีไบโอติกคืออะไรเลือกกินยังไงให้ได้ผล! คลิก!

จากรายงาน PRECEDENCE RESEARCH แนวโน้มการตลาดอาหารเสริมโพรไบโอติกปัจจุบันถึงอนาคต มีอัตราการเจริญเติบโต และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในช่วงโควิดตลาดโพรไบโอติกก็มีอัตราเจริญเติบโตมากขึ้นด้วย (อ้างอิง
เพราะนอกจากจะมีประมีประโยชน์ในเรื่องช่วยสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ โพรไบโอติกกับระบบทางเดินอาหาร ยังมีผลต่อสุขภาพด้านอื่นได้ เช่น โพรไบโอติกเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน, โพรไบโอติกกับสมดุลผิว, โพรไบโอติกกับสมองอารมณ์, โพรไบโอติกดูแลจุดซ่อนเร้น, โพรไบโอติกกับระบบทางเดินหายใจ และดูแลตับด้วยนะ ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของโพรไบโอติกในด้านนั้นๆ ดังนั้นการตลาดเพื่อผู้บริโภคโพรไบโอติกต้องเน้นไปที่งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้อย่างน่าเชื่อถือด้วย

บทบาทของโพรไบโอติกในร่างกายมีอะไรบ้าง?
• ป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรคจับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกันบริเวณเยื่อบุลำไส้
• ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย
• กระตุ้นระบบการย่อยอาหารโดยการสร้างเอนไซม์หลากหลายชนิด
• ช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายที่เสียไป
• เหนี่ยวนำการกระตุ้นการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกัน ทำให้มีการสร้างสารป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้เข้าสู่ภาวะสมดุลได้

ในปัจจุบันโพรไบโอติกที่เราพบเห็นกันได้ในท้องตลาดมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบผงแป้ง (POWDERS)ทั้งละลายน้ำ(SOLUTION DROPS) และกรอกปากกินได้เลย, รูปแบบแคปซูล (CAPSULES), รูปแบบยาเม็ดเคี้ยว (CHEWABLE TABLETS) รวมถึงแบบอื่นๆที่น่าสนใจอีกเยอะ

• โพรไบโอติก แบบไหนดี ต่างกันยังไง?

• โพรไบโอติกแบบผง (POWDER) เป็นโพรไบโอติกที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะปริมาณต่อโดสที่เยอะทำให้ได้รับจุลินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะกับความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะคนที่ต้องการจุลินทรีย์สายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium เป็นหลัก เพราะเป็นสายพันธุ์ที่สามารถทนต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหารได้ดี  มีรสชาติอร่อย เช่น รสโยเกิร์ต รสผลไม้ รับประทานง่าย มีลักษณะเป็นซองพกพาไปรับประทานข้างนอกได้สะดวก แค่ชงกับน้ำธรรมดาหรือน้ำเย็น ขณะที่บางยี่ห้อก็สามารถกรอกปากกลืนลงคอได้ทันทีโดยไม่ต้องละลายน้ำก่อน 

ข้อควรระวังในการรับประทานโพรไบโอติกแบบผง
โพรไบโอติกแบบผงชงดื่มควรชงในน้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิห้องเท่านั้น เพื่อไม่ให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ตายและประสิทธิภาพลดลง แต่ก็อาจมีบางชนิดที่สามารถกินได้เลยโดยไม่ต้องทำการละลายน้ำก่อน
นอกจากนี้ควรระวังน้ำตาลที่ปรุงแต่งรสชาติเพื่อให้รับประทานง่ายขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรเลือกแบบไม่เติมน้ำตาลหรือมีปริมาณน้ำตาลน้อยนะ

• โพรไบโอติกแบบแคปซูล (CAPSULE) ที่เห็นกันทั่วไปในปัจจุบัน เหมาะกับการบรรจุจุลินทรีย์สายพันธุ์ที่ไม่ทนต่อความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร  สำหรับโพรไบโอติกแบบเม็ด หรือแบบแคปซูล ก็จะมีความสะดวกในการรับประทาน ไม่ต้องชงหรือผสมกับน้ำเปล่า หยิบมากินตามปริมาณที่แนะนำได้เลย ไม่มีกลิ่นและรสชาติที่บางคนอาจไม่ชอบ และบางยี่ห้อก็ใส่เทคโนโลยีป้องกันโพรไบโอติกถูกน้ำย่อยทำลายมาในแคปซูลด้วย

ข้อควรระวังในการรับประทานโพรไบโอติกแบบแคปซูล
อาจได้รับปริมาณจุลินทรีย์ที่น้อยกว่าแบบผง หากโพรไบโอติกแบบเม็ดแคปซูลนั้นมีขนาดบรรจุที่เล็กกว่า อาจจะต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อมาห่อหุ้ม หรือทำให้โพรไบโอติกมีความทนต่อกรดและอุณหภูมิสูง โพรไบโอติกก็จะมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น  และอาจจะลำบากสำหรับคนที่กินยายากนะ เพราะบางยี่ห้อก็มีขนาดเม็ดใหญ่กว่าเม็ดยาทั่วไป

• โพรไบโอติกแบบเจลลี่และกัมมี่ (JELLY) โพรไบโอติกแบบนี้อาจจะเหมาะเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กๆ หรือผู้ใหญ่ ที่ไม่ค่อยชอบทานผักผลไม้ นมเปรี้ยว โยเกิร์ต เพราะรูปเจลลี่แบบนี้มีความสะดวก ไม่ต้องชงน้ำดื่มหรือดื่มน้ำตาม เป็นรูปแบบที่สามารถพกพาได้สะดวกและทานง่าย เหมาะกับคนที่ไม่ชอบกินแบบผงและแบบแคปซูล รวมทั้งคนที่มีปัญหากลืนเม็ดยายาก

ข้อควรระวังในการรับประทานโพรไบโอติกแบบเจลลี่และกัมมี่
ข้อเสียของรูปแบบนี้คือ ปริมาณของโพรไบโอติกอาจเสียไปเนื่องจากโดนความร้อน และควรระวังความหวานจากน้ำตาลที่เติมเข้ามาเพื่อให้รับประทานได้ง่ายขึ้นด้วย จึงควรเลือกซื้อชนิดที่มีน้ำตาลน้อยหรือไม่เติมน้ำตาล และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป

ปัจจุบันมีรูปแบบของโพไบโอติก เป็น DOSAGE FORM ที่มีขายทั่วโลกแบบใหม่ก็เยอะนะคุณๆ แต่ 3 รูปแบบที่เลือกมา คือเป็นรูปแบบในท้องตลาดที่น่าสนใจ และปลอดภัย
รวมรูปแบบผลิตภัณฑ์ของโพรไบโอติกที่น่าสนใจอัพเดทปี 2024 คลิ๊ก!

• เลือกอาหารเสริมโพรไบโอติก ในท้องตลาด

1. เลือกจากวิธีรับประทาน เช่น แบบผงแป้ง แบบเม็ดแคปซูล หรือแบบเจลลี่
2. เลือกตัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เราต้องการมาเป็นส่วนประกอบ เช่น แล็กโทบาซิลลัส เหมาะสำหรับกระตุ้นระบบขับถ่าย ส่วนบิฟิโดแบคทีเรีย เหมาะสำหรับกระตุ้นภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน 
3. เลือกจากปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ โดยปริมาณเชื้อแบคทีเรียต่อซองไม่ควรต่ำกว่า 1,000 ล้าน CFU (Colony Forming Unit) โดยเฉพาะเชื้อกลุ่มที่ไม่มีเกราะหุ้มที่จะตายจากกรดในกระเพาะอาหารก่อนถึงลำไส้ เช่น แล็กโทบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรีย จึงต้องรับประทานในปริมาณสูงต่อวัน 
4. ตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีการเสริมใยอาหาร เช่น พรีไบโอติกหรืออาหารของแบคทีเรียโพรไบโอติกรวมอยู่ด้วยเสมอ หรือบางแบรนด์จะเรียกว่า “ซินไบโอติก (Synbiotic)” ซึ่งจะช่วยให้โพรไบโอติกทำงานได้ดีขึ้น
5. ตรวจสอบข้อมูลบนกล่องของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ดังนี้
- อ่านฉลากหลังกล่องว่ามีเลข อย. เพื่อความปลอดภัย
- มีการระบุชื่อสายพันธุ์โพรไบโอติกหรือไม่ เพื่อกันการแอบอ้างหรือโดนหลอก
- ระบุวิธีการใช้และวิธีเก็บรักษา ต้องเก็บในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่ทำให้โพรไบติกเสื่อมสภาพขณะเก็บ
- ตรวจสอบวันหมดอายุ และบรรจุภัณฑ์ไม่มีรอยฉีกขาดหรือรอยรั่วเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก

• โพรไบโอติก (PROBIOTICS) กินตอนไหนดี?

- กินหลังอาหารเช้า รับประทานโปรไบโอติกหลังอาหารเช้าประมาณ 30 นาที เป็นช่วงเวลาที่กระเพาะอาหารมีกรดน้อย จะช่วยให้จุลินทรีย์โปรไบโอติกส์ผ่านไปยังลำไส้ได้ดี
- กินก่อนนอนตอนกลางคืน การรับประทานก่อนนอนประมาณ 1-2 ชั่วโมง จะช่วยให้โปรไบโอติกเคลื่อนผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้สะดวก เนื่องจากร่างกายไม่ได้ย่อยอาหารในช่วงนี้
- กินพร้อมอาหารที่มีกากใยสูง อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผลไม้ ธัญพืช จะช่วยให้โปรไบโอติกส์เจริญเติบโตได้ดี เพราะจุลินทรีย์ดังกล่าวต้องการกากใยเป็นอาหาร
- หลีกเลี่ยงการรับประทานพร้อมนม และผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด อาจทำให้โปรไบโอติกไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่
- หลีกเลี่ยงการรับประทานโปรไบโอติกพร้อมกับยาปฏิชีวนะ หรือสารฆ่าเชื้ออื่นๆ ซึ่งจะทำลายจุลินทรีย์
 

สรุป 

อาหารเสริมในท้องตลาดมีหลายรูปแบบให้เลือกตามความต้องการ ซึ่งแบบไหนจะดีที่สุด ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์โพรไบโอติก และปริมาณโพรไบโอติกที่ต้องการ หรือมีการใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อส่งจุลินทรีย์ให้มีชีวิตรอดไปถึงลำไส้ในปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้นต้องเลือกผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่ตอบโจทย์และเห็นผลจริง มีงานวิจัยน่าเชื่อถือ และไม่หลงเชื่อการตลาดนะคุณๆ

ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้  ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

กูรูเช็คขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.precedenceresearch.com/probiotics-market
เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

2710

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “