เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views 1764

2025-04-10 10:35

(กูรูเช็ค) รวม 6 สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระวัง ในการทำการตลาดอาหารเสริม

กูรูเช็ค

การตลาดอาหารเสริมที่ดีไม่ใช่แค่จะต้องทำตามเทรนด์เพื่อไล่ตามคนอื่นให้ทัน แต่ต้องมีความระมัดระวังในการทำการตลาดด้วย เพราะบางอย่างก็เป็นเหมือนดาบสองคม ที่ทำไปแล้วอาจจะรับกระแสที่ดีในช่วงหนึ่ง แต่ก็อาจจะทำให้เสียประโยชน์ได้ในภายหลัง มาเช็คว่าการตลาดแบบไหนที่ผู้ประกอบการแบรนด์อาหารเสริมควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้แบรนด์เสียชื่อ
 

1.Brand Dilution

เป็นสิ่งที่รู้จักในอีกชื่อคือ การเจือจางของแบรนด์ เกิดขึ้นเมื่อคุณค่า ภาพจำ หรือความโดดเด่นของแบรนด์เริ่มลดน้อยลง เกิดขึ้นได้จากการที่แบรนด์ขยายไลน์สินค้าที่ฉีกไปจากภาพลักษณ์ของแบรนด์เอง ทำให้แบรนด์ดูไม่ชัดเจน จนลูกค้าเกิดความสันสน ไม่เชื่อถือในตัวแบรนด์ และการที่ภาพจำของแบรนด์เริ่มจางหายไป ก็ทำให้ไม่มีความแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่งด้วย
ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ แต่เปิดตัวแบรนด์ขนมหวาน
 

2.Over Positioning

ข้อผิดพลาดนี้เกิดจากการที่แบรนด์วางจุดยืนแคบ หรือเฉพาะเจาะจงมากจนเกิดไป ภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่ผู้บริโภครู้จักจึงมีข้อจำกัด ทำให้แบรนด์เสียผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งไป
ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารเสริมวาง Positioning เป็น Hi-End ขายอาหารเสริมในราคาที่สูง ทำให้คนคิดว่าสินว่าราคาแพงเกินไปที่จะเอื้อมถึง แม้ราคาสินค้าบางอย่างของแบรนด์จะมีราคาไม่สูงก็ตาม
 

3.Under Positioning

เกิดจากการที่แบรนด์วางตำแหน่งทางการตลาดที่ไม่ชัดเจน ไม่มีความแตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง หรือไม่ได้ให้ข้อมูลที่มากพอจะทำให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจในตัวแบรนด์ ว่าผลิตภัณฑ์ของแบรนด์มีข้อดีอะไรบ้าง
ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารเสริมมีจุดยืนในการโปรโมทว่ามีคนดังเป็นเจ้าของแบรนด์ แต่ไม่ค่อยพูดถึงคุณสมบัติ ข้อดีอาหารเสริมของแบรนด์ ผู้บริโภคเลยไม่สามารถรับรู้ได้ว่านอกจากมีคนดังเป็นเจ้าของแบรนด์แล้วยังมีข้อดีอะไรบ้าง

4.Brand Cannibalization

การตลาดแบบ Cannibalization คือการที่แบรนด์หลัก ออกแบรนด์ลูกมา แต่มีราคาที่ถูกกว่า เพราะส่วนมากคาดหวังส่วนแบ่งทางการตลาดที่มากขึ้น แม้ยอดขายแบรนด์เดิมจะลดลง เพราะคนไปซื้อสินค้าแบรนด์ใหม่ที่ราคาถูกกว่า แต่ไม่ใช่ทุกแบรนด์ที่จะสามารถทำการตลาดนี้ได้สำเร็จ
ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารเสริม A ออกแบรนด์ย่อย B ที่ขายอาหารเสริมแบบ Hi-End และมีราคาสูงกว่าแบรนด์ A ไม่มาก ทำให้คนหันไปซื้ออาหารเสริมจากแบรนด์ B แทน

5.Green Washing

คือการฟอกเขียว หรือการแสดงตัวว่าเป็นแบรนด์ Sustainability สร้างภาพลักษณ์แลรนด์ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ใส่ใจปัญหาโลกที่เกิดขึ้น แต่ความจริงแล้วไม่ใช่
ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารเสริมที่แสดงภาพลักษณ์ว่ากระบวนการผลิต วัตถุดิบต่าง ๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่าจริง ๆ ไม่ใช่


ผู้ประกอบการที่สนใจเกี่ยวกับการตลาด Sustainability สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ ทริคทำการตลาด Sustainability
 

6.Rainbow Washing

สายรุ้งเป็นสัญลักษณ์ของการสนับสนุน LGBTQ+ Rainbow Washing จึงเป็นการที่แบรนด์เลือกใช้สัญลักษณ์สีรุ้งในการทำการตลาดแบบฉาบฉวย เพื่อให้คนรู้ว่าแบรนด์มีการสนับสนุน LGBTQ+ แต่ที่จริงแล้วไม่ได้มีการสนับสนุนจริง ๆ เป็นเพียงแค่การเกาะกระแส ทำให้ผู้บริโภครับรู้ว่าแบรนด์ไม่มีความจริงใจต่อกลุ่มที่ทำการตลาด
ตัวอย่างเช่น แบรนด์อาหารเสริมที่ทำการตลาด ออกคอลเลคชันพิเศษเกี่ยวกับ LGBTQ+ แต่ในความเป็นจริง ผู้ประกอบการหรือพนักงานของแบรนด์ มีทัศคติที่เหยียดเพศ LBGTQ+
 

6 การตลาดที่ได้กล่าวมา เป็นการตลาดที่หลายแบรนด์มักจะเข้ามาจับเพื่อกระแสอย่างฉาบฉวย แต่ก็เกิดความผิดพลาดอยู่บ่อยครั้ง และไม่สามารถสานต่อได้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ทำแบรนด์อาหารเสริมควรระวังในการทำการตลาด โดยต้องใช้ความรู้ ความเข้าใจ และความจริงใจต่อผู้บริโภค

ทางทีมกูรูเช็คก็หวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่ต้องการสร้างแบรนด์และผู้ประกอบการที่ต้องการพัฒนาสินค้าของตัวเอง และใครที่สนใจ Consult สร้างแบรนด์ ฟรี!! ก็สามารถ แอด LINE : @gurucheckacademy หรือคลิ๊กที่ลิงค์นี้ได้เลยค่ะ https://line.me/R/ti/p/@gurucheckacademy
 

กูรูเช็คขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.marketthink.co/
เขียนโดย : กูรูเช็ค

Views

1764

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “