เขียนโดย : Gurucheck

Views 1433

2024-04-19 10:00

(กูรูเช็ค) อัปเดตงานวิจัยโพรไบโอติกที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและภาวะซึมเศร้า

กูรูเช็ค

     งานวิจัยนี้เป็นการรวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโพรไบโอติกที่มีผลต่อภาวะซึมเศร้าและโรคอ้วน โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Calisia และมหาวิทยาลัย Rzeszow ในโปแลนด์ โดยสำรวจบทบาทของจุลินทรีย์ในลำไส้ต่อภาวะโรคซึมเศร้าและโรคอ้วน และประเมินประโยชน์ที่เป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติกสำหรับบรรเทาอาการโรคซึมเศร้าและลดน้ำหนัก (1) ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตถึงความสำคัญของงานวิจัยนี้ เนื่องจากการมีภาวะโรคอ้วนและโรคซึมเศร้าร่วกันแสดงถึง "ภาวะโรคร่วม" ที่ต้องการการดูแลด้านสุขภาพที่ดีขึ้น ที่สำคัญคือจุลินทรีย์ในลำไส้ก็มีส่วนเกี่ยวกับการป้องกันภาวะต่างๆ เหล่านี้ได้ กูรูเช็คจึงอยากนำเสนอในแง่มุมงานวิจัยโพรไบโอติกว่าเกี่ยวข้องกับโรคเหล่านี้ และโพรไบโอติกสายพันธุ์ไหนบ้างที่ช่วยลดหรือชะลออาการต่างๆ เหล่านี้ได้บ้าง มาดูกันเลยค่ะ

บทบาทของโพรไบโอติกต่อภาวะซึมเศร้า

มีหลักฐานงานวิจัยจำนวนมากขึ้นที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่เป็นอันตรายของความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่มีผลต่อสุขภาพจิต ซึ่งการทบทวนงานวิจัยเหลานี้ชี้ให้เห็นว่าสามารถแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือภาวะซึมเศร้าได้ด้วยการปรับไมโครไบโอม

โพรไบโอติกช่วยเสริมความแข็งแรงโครงร่างของเซลล์ การหลั่งเมือก และการเกิดกระบวนการ phosphorylation ของโปรตีนที่จุด  tight junction ให้เกิดความแน่นหนาเพื่อปกป้องลำไส้ และการผลิตเพปไทด์หรือโปรตีนที่สังเคราะห์จากไรโบโซมของโพรไบโอติก รวมทั้งกรดอินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

โพรไบโอติกเหล่านี้สามารถผลิตวิตามินบี ซึ่งมีความสำคัญต่อสาเหตุของภาวะซึมเศร้า รวมทั้งลดไซโตไคน์ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ และทำหน้าที่เป็นแหล่ง Short Chain Fatty Acid (SCFA) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการต้านการอักเสบ

การทำงานของโพรไบโอติกที่เป็นระบบเหล่านี้จะมีอิทธิพลต่อการหลั่งสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น GABA หรือที่เรียกว่า gamma-aminobutyric acid ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีฤทธิ์ช่วยใช้สมองผ่อนคลาย ช่วยชะลอการตอบสนองต่อความเครียด นอกจากนี้ยังมีผลต่อการหลั่งเซโรโทนินที่เป็นฮอร์โมนและสารสื่อประสาทที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับอารมณ์รวมถึงการนอนหลับ

นอกจากนี้โพรไบโอติกอาจส่งผลต่อ HPA axis (แกนไฮโปทาลามัส–ต่อมใต้สมอง–ต่อมหมวกไต) ซึ่ง HPA axis นี้ทำให้อาการซึมเศร้าและความวิตกกังวลรุนแรงขึ้น แต่โพรไบโอติกสามารถเพิ่มความเข้มข้นของออกซิโตซิน (oxytocin) ที่เป็นฮอร์โมนแห่งความรักและความผูกพันธ์ในร่างกาย (2) ลดการทำงานของ HPA axis  และมีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของ HPA axis เพื่อการตอบสนองต่อความเครียดและลดความวิตกกังวล

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Lactobacillus plantarum สายพันธุ์ 299V และ PS128​ (3) มีรายงานว่ามีผลดีต่ออารมณ์ในภาวะซึมเศร้า และ Bifidobacterium infantis​ มีผลดีในการควบคุม HPA axis  

โพรไบโอติก L. fermentum​ สายพันธุ์ NS8 และ NS9, L. gasseri​ OLL2809 และ L. casei Shirota ​เป็นสายพันธุ์เพียงไม่กี่สายพันธุ์ที่พบว่ากระตุ้นการทำงานของระบบประสาทโดยตรง ควบคุมปัจจัยทางระบบประสาท ลดความเครียด และลดอาการซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญ (4)​ นอกจากนี้ L. helveticus​​ ​​ ยังส่งผลให้ระดับ corticosterone ในเลือดลดลง และเพิ่มระดับ serotonin และ norepinephrine ได้อีกด้วย

 

การค้นพบที่สนับสนุนจากการวิจัยเหล่านี้ ยิ่งต้องเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการทดลองทางคลินิกที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินศักยภาพในการรักษาโดยการปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ และเพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับกลไกที่ซับซ้อนในการเชื่อมโยง microbiota ในลำไส้เข้ากับความเป็นอยู่ที่ดีทางด้านจิตใจ

บทบาทของโพรไบโอติกต่อภาวะโรคอ้วน

ในทำนองเดียวกัน ก็มีรายงานวิจัยก่อนหน้านี้ได้ระบุว่าโพรไบโอติกก็มีผลต่อการบรรเทาความผิดปกติของระบบเผาผลาญในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

microbiota แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างบุคคลที่มีรูปร่างผอมและเป็นโรคอ้วน ในบุคคลที่มีน้ำหนักเกิน จะมีลักษณะเฉพาะคือความหลากหลายของจุลินทรีย์ลดลงและการลดลงอย่างมีนัยสำคัญของแบคทีเรียที่ไม่ก่อโรคซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในขณะที่จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ สิ่งนี้นำไปสู่กลไกวิถีเมแทบอลิซึมต่างๆ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในปัจจัยทางสาเหตุของโรคอ้วน

จากรายงานการศึกษาผลกระทบของ L. gasseri​ SBT2055 ต่อการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนร่างกายในคน 43 คนที่เป็นผู้ใหญ่ที่มีแนวโน้มเป็นโรคอ้วน จากนั้นให้ผู้ป่วยบริโภค kefir ที่เป็นนมหมักกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ มีรสคล้ายโยเกิร์ตแต่จะเข้มข้นกว่าเป็นเวลา 12 สัปดาห์ และผลลัพธ์ที่ได้พบว่าโพรไบโอติกทำให้น้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย เอว เส้นรอบวงสะโพก และไขมันในอวัยวะภายในลดลง (5)

Zarrati และคณะ ศึกษาการควบคุมน้ำหนักซึ่งเป็นผลมาจาก L. acidophilus​ La5, L. casei​ DN001 และ B.lactis​ Bb12 พบว่าในกลุ่มที่บริโภคโยเกิร์ตโพรไบโอติก ค่า BMI และเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายลดลงอย่างชัดเจน และควบคุมระดับ leptin ที่เป็นฮอร์โมนควบคุมความอิ่ม (6)

Sanchez และคณะ ศึกษาผลกระทบของ L. rhamnosus​ CGMCC1.3724 ร่วมกับการเสริมโอลิโกฟรุคโตสและอินนูลิน ต่อการลดน้ำหนักและรักษาน้ำหนักในชายและหญิงที่เป็นโรคอ้วนในช่วง 24 สัปดาห์ พบว่าผู้หญิงในกลุ่มที่ได้รับ L. rhamnosus​ มีการลดน้ำหนักมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายใน 12 สัปดาห์แรก ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของจำนวนแบคทีเรียในตระกูล Lachnospiraceae ในอุจจาระ (7)

สรุป

จากงานวิจัยนี้ตั้งข้อสังเกตว่าผลลัพธ์ที่พบในแบบจำลองสัตว์อาจไม่ได้แปลเป็นมนุษย์โดยตรงเสมอไป อีกทั้งการตอบสนองของแต่ละคนต่อโrรไบโอติกอาจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เกิดความท้าทายในการทำนายประสิทธิภาพของโrรไบโอติกในระดับสากล ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิจัยเพิ่มเติมเพื่อสร้างประสิทธิภาพของโพรไบโอติกในมนุษย์ผ่านการทดลองทางคลินิกที่ออกแบบมาอย่างดี

การทดลองเหล่านี้ควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ความจำเพาะของสายพันธุ์โปรไบโอติก ปริมาณ ระยะเวลาในการรักษา และลักษณะของประชากรเป้าหมาย ยิ่งกว่านั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักว่าการแทรกแซงด้วยโพรไบโอติกไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาได้เพียงวิธีเดียว แต่ควรพิจารณาในบริบทของปัจจัยการบริโภคอาหารและไลฟ์สไตล์โดยรวมร่วมด้วย

ปัจจัยที่ระบุว่าอาจส่งผลต่อประสิทธิผลของโพรไบโอติก ได้แก่ คุณภาพอาหาร การออกกำลังกาย ระดับความเครียด และรูปแบบการนอนหลับ ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญของแนวทางเฉพาะบุคคลและหลากหลายแง่มุมในการใช้ประโยชน์จากศักยภาพของโพรไบโอติก

สำหรับวันนี้ทางทีมกูรูเช็คหวังว่าข้อมูลที่ทีมรวบรวมมาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ให้กับคุณๆทุกคนที่เข้ามาอ่านบทความนี้ ฝากติดตามข้อมูล รีวิว สุขภาพและความงาม ตามหลักการแพทย์ได้ที่ช่องกูรูเช็คนะคะ

เขียนโดย : Gurucheck

Views

1433

“ เราเชื่อว่าข้อมูลทางวิชาการเป็นเรื่องที่ยากสำหรับใครหลาย ๆ คนกูรูเช็คขอเป็นตัวแทนที่จะนำเสนอข้อมูลสุขภาพและความงามตามหลักการแพทย์ที่ได้รับการวิจัยและมีข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทุกคนมีความสุขกับการเริ่มต้นดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นค่ะ “